Business process reengineering

Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign หรือที่เรียกย่อๆว่า BPR นั้นคือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ วิธีการนั้นก็แสนจะง่าย เพียงมองกลับไปมองที่ระบบการทำงานขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRP ชี้ว่า วิธีการ Reengineering นั้นจะต้องคิดหารูปแบบใหม่ในวิธีการทำงาน, กิจกรรมที่จำเป็นต้องทำจริงจริง และการนำเอาคน, วิทยาการ และองค์กร มาประสานเข้าด้วยกันวิธีการนี้ฟังเหมือนจะเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เดเวนพอร์ท (1996) ชี้ว่ากระแส รีเอนจิเนียร์ริงนั้น เป็นเหมือนดอกไม้ไฟเท่านั้น ด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ เขาชี้แจงแบบเกรี้ยวกราดว่า ปัจจุบันนี้ รีเอนจิเนียร์ริง ถูกเข้าใจแบบผิดๆว่าคือการ เปลี่ยนโครงสร้างใหม่, ไล่คนออก และ เปลี่ยนแปลงแบบถี่ๆ ในขณะที่ "มหกรรมการไล่ออก" ไม่เคยได้รับการเอ่ยถึง ในช่วงต้นของประวัติศาสตร์การรีเอนจิเนียร์ริงเลย พูดง่ายๆ ผู้จัดการในปัจจุบันละทิ้งการให้ความสำคัญของมนุษย์ไปเสียแล้วแท้จริงแล้ว หัวใจของรีเอนจิเนียร์ริ่ง คือมนุษย์ บทบาทของเทคโนโลยีนั้นคือการช่วยงานมนุษย์ ไม่ใช่ทดแทนมนุษย์ อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจหลายคนกลับเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยี และโละพนักงานเจนสนามออก ที่คล้ายๆกัน ไลเกอร์ (2004) เองก็กล่าวว่า ปรัชญาของโตโยต้านั้น ให้ความสำคัญกับพนักงานมาก ชนิดขาดไม่ได้ อีกทั้งคำว่า "Autonomation" ในปรัชญาของโตโยต้านั้น ชี้ให้เห็นได้ชัดว่า มนุษย์มีความน่าเชื่อถือกว่าเครื่องจักร (ยืนยันการสะกดว่าถูกต้องแล้ว เป็นศัพท์ที่โตโยต้าบัญญัติขึ้นใช้เอง โดยหมายถึงการใช้เครื่องจักรที่มีมนุษย์ควบคุม ไม่ปล่อยให้เครื่องจักรทำงานเองโดยปราศจากการควบคุม)จุดล้มเหลวอีกจุดของรีเอนจิเนียร์ริ่งนั้นก็คือ การตัดสินใจระยะสั้น มองเพียงแต่ผลกำไร โดยไม่มองถึงผลเสียในระยะยาวนั่นเอง